เมนู

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา แล้วให้ทาน ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลาย
สงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ราคะ ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[869] 1. อรณธรรม เป็นปัจจัยแก่อรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
พิจารณาจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอรณธรรม ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย.
2. อรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสรณธรรม ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ 12. อาเสวนปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

มี 2 วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ

13. กัมมปัจจัย


[870] 1. สรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นสรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 2)